คณะ ICT ลงนาม MOU 22 บริษัท เพื่อเตรียมความพร้อมปรับปรุงหลักสูตร ภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ในรูปแบบ Zoom Online

16/1/2564 12:43:10น. 378
MOU 22 บริษัท โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ
         เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564 ณ ห้องประชุมบวรรัตนประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยพะเยา สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กิจกรรมประธานหลักสูตรพบผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมปรับปรุงหลักสูตรภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – Zoom Online เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม ฯ
       ซึ่งได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดพิธี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลง จากนั้นอาจารย์ณัฐพล หาญสมุทร ประธานหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ กล่าวรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการบันฑิตพันธุ์ใหม่ฯ พร้อมผู้บริหารคณะฯ และคณาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เข้าร่วมพิธีลงนามโดยพร้อมเพรียงกัน
       ทางด้านคุณราเมศวร์ ศิลปะพรหม ประธานที่ปรึกษา บริษัท ซอฟต์แสควร์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มโครงการ กล่าวว่า โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ของสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นโครงการที่ดีที่ส่งเสริมและพัฒนาให้นิสิตมีสมรรถนะที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีคณาจารย์และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการร่วมกันฝึกสอนวิชาชีพนิสิตให้ได้ตามมาตรฐาน
      ซึ่งโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ “วิศวกรรมซอฟต์แวร์ Ready To Work” เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนากำลังคนในวิชาชีพดิจิทัลให้มีสมรรถนะและศักยภาพสูงและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมใหม่ เป็นหลักสูตรที่นิสิตนักศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอน โดยเรียนกับทางมหาวิทยาลัย และเรียนกับภาคเอกชนฝั่งละ 50% ของเวลาเรียนทั้งหมด โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำกับดูแลองค์ความรู้ด้านวิชาการ ส่วนภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ส่งบุคลากรเข้าร่วมเป็นอาจารย์พิเศษประจำหลักสูตรช่วยฝึกสอนวิชาชีพให้ได้ตามมาตรฐาน และความต้องการของภาคเอกชน ซึ่งสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นสาขาวิชาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งโครงการฯ มีผู้ประกอบการไอทีชั้นนำเข้าร่วมโครงการ จำนวน 7 แห่ง คือ บริษัท Big Data Agency จำกัด, บริษัท ทเวนตี้ สกู๊ป ซีเอ็นเอ๊กซ์ จำกัด, บริษัท วีเว็บพลัส จำกัด, บริษัท มัลเบอร์รี่ซอฟต์ จำกัด, บริษัท Soft Square จำกัด และ บริษัท อาร์ติซาน ดิจิตอล เอเชีย จำกัด และมีบริษัทไอทีชั้นนำอีก 15 แห่ง เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม คือ
1. บริษัท วันดี โซลูชั่น จำกัด
2. บริษัท ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท จาร์วิทเทคโนโลยี จำกัด
4. บริษัท แซฟไฟร์ รีเสิร์ช แอนด์ ดีเวลล็อปเม็นท์ จำกัด
5. บริษัท แอดอีซี่ จำกัด
6. บริษัท วูลฟ์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด
7. บริษัท แอลเอฟฟินเทค จำกัด
8. บริษัท ทริปเปิ้ล พี เทค จำกัด
9. บริษัท โคเดียม จำกัด
10. บริษัท เด็พธเฟิร์สท จำกัด
11. บริษัท ไปด้วยกันมั๊ย จำกัด
12. บริษัท อาวล์ เดย์ เฮ้าส์ จำกัด
13. บริษัท เน็กซี่เทคโนโลยี จำกัด
14. บริษัท ปรานเวิร์ค จำกัด
และ 15. บริษัท ดูดี อินดีด คอร์ปอเรชัน จำกัด
        และกิจกรรมในช่วงบ่าย มีการจัดเสวนา เรื่อง แผนดำเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ กับสถานประกอบการ และ การเสวนา เรื่อง การปรับปรุงหลักสูตรของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีวิทยากรในการเสวนา คือ คุณนฤภัทร พญาชัย จากบริษัท ไอเกียกีค จำกัด และ คุณเจษฎา ทิวงค์วรกุล จากบริษัท ทเวนตี้ สกุ๊ป ซีเอ็นเอ็กซ์ จำกัด โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทั้ง 22 บริษัท ร่วมเสนอแนะและซักถามข้อสงสัยเพื่อร่วมกันปรับปรุงหลักสูตรให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้นอีกด้วย



  

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   นางสาวดลทิชา เชี่ยวสุวรรณ   
ข้อมูล/ข่าว :    นางสาวมยุเรศ แสงสว่าง   
เพิ่มข่าวโดย :   mayurate.sa@up.ac.th   
16/1/2564 12:43:10น. 378
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน