Mr. Athichart joined the University of Phayao MoU ceremony and delivered knowledge “How to cultivate spirulina with high phcocyyanin”

16/2/2564 16:49:31น. 576
สาหร่ายสไปรูลินา

วันอังคารที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ มหาวิทยาลัยพะเยาได้จัดพิธีลงนามสัญญาและส่งมอบเทคโนโลยี องค์ความรู้จากผลงานวิจัยวิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาที่มีปริมาณไฟโคไซยานินสูง” ระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยา กับ บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง จำกัด

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ ผู้วิจัยเรื่อง “วิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาที่มีปริมาณไฟโคไซยานินสูง” เป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินา ให้ได้สาหร่ายที่มีคุณภาพ ซึ่งได้รับโจทย์ความต้องการจากคุณรัฐวิชญ์ สิริอมรสิทธิ์ ประธานบริหารบริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง จำกัด และได้ดำเนินการวิจัยวิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายจนได้สภาวะที่เหมาะสม ที่ทำให้สาหร่ายสไปรูลินามีปริมาณไฟโคไซยานินสูง ซึ่งนำไปสู่การใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยบริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง จำกัด ได้นำการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้จากผลงานวิจัย “วิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาที่มีปริมาณไฟโคไซยานินสูง” ไปต่อยอดในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาของบริษัท ต่อไป


อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้ดำเนินการร่วมมือกับบริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นอย่างดี มหาวิทยาลัยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ใช้องค์ความรู้ผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมลงไปทำงานร่วมกับชุมชน พัฒนายกระดับความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน สามารถขยายผลไปสู่การดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆได้ องค์ความรู้จากกผลงานวิจัยในครั้งนี้ ได้ตอบโจทย์ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยพะเยาว่า “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” เพื่อมุ่งสร้างนวัตกรรมชุมชนสู่สากล



   

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ ผู้วิจัยเรื่อง “วิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาที่มีปริมาณไฟโคไซยานินสูง” กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านการศึกษา การวิจัยเทคโนโลยีและองค์ความรู้ครั้งนี้ สามารถนำไปต่อยอด และถ่ายทอดในด้านการเรียนการสอนกับนิสิต และเป็นการกระตุ้นให้นักวิจัย ให้ความสำคัญและพัฒนางานวิจัยในด้านนี้มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญผลงานวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ และเพิ่มขีดความสามารถการผลิตได้เป็นอย่างดี       



 

โดยครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณอธิชาติ ชุมนานนท์ (คุณอั้ม) ผู้ร่วมก่อตั้ง และกรรมการบริหาร บริษัท พาว มิราเคิล จำกัด และคุณนพวริทธิ์ โกมลวุฒิสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พาว มิราเคิล จำกัด เข้าร่วมเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของบริษัท พร้อมนำเสนอแนวทางการนำสาหร่ายสไปรูลินาที่มีปริมาณไฟโคไซยานินสูง นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ที่มีคุณภาพสูง บำรุงสุขภาพ ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน ออกสู่ตลาดต่อไป         



  จากนั้น มหาวิทยาลัยพะเยา และบริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง จำกัด ได้ลงนามสัญญาแลและส่งมอบเทคโนโลยี องค์ความรู้จากผลงานวิจัย “วิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาที่มีปริมาณไฟโคไซยานินสูง” ณ อาคาร ๙๙ ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา        

 


    

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยพะเยา   
ข้อมูล/ข่าว :    สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี/ ธิดาเดือน อุตยานะ งานประชาสัมพันธ์   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
16/2/2564 16:49:31น. 576
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน