ม.พะเยา ร่วมเสวนา พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม : จากโนบายสู่การปฏิบัติ มุ่งความสำเร็จ

10/8/2565 12:04:29น. 702
พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม
        วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 9 - 11 สิงหาคม 2565 ซึ่งในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และมหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคใต้ 12 สถาบัน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ภายใต้หัวข้อ : พันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยกับสังคม: พลังปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน – University Engagement: Local wisdom for Sustainable Development Goals ณ โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง
        การเสวนาในหัวข้อ พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม : จากโนบายสู่การปฏิบัติ มุ่งความสำเร็จ ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบาย ของมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้กำหนดตนเองเป็น มหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ (Area-Based University) ตามโครงการ Re-inventing University ของกระทรวงอุดมการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ต้องการให้สถาบันอุดมศึกษามีการปฏิรูประบบการบริหาร ปรับเปลี่ยนหลักสูตรและ การเรียนการสอนให้ทันสมัย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม การผลิตกำลังคนคุณภาพสูง ให้สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นเลิศตามจุดแข็งของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ สร้างจุดต่างตามความถนัดและมีความหลากหลายตามพันธกิจและความเชี่ยวชาญ
        มหาวิทยาลัยพะเยา ดำเนินงานเชิงพื้นที่ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย “มหาวิทยาลัยสร้างปัญญา เพื่อนวัตกรมสู่ชุมชนสู่ความยั่งยืน” และ ปณิธานของมหาวิทยาลัย “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” ซึ่งมีรากฐานการทำงานเดิม คือ โครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ต่อยอดเป็น โครงการ 1 คณะ 1 สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ อาศัยองค์ความรู้ถ่ายทอดไปยังชุมชนในงานวิจัยและบริการวิชาการ ผสานกับภูมิปัญญาเดิมของพื้นที่ ตลอดจนการตอบรับนโยบายของ อว. ในการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ทั้ง 2 ระยะ เกิดการจ้างงานครอบคลุม 4 จังหวัด (พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ และน่าน) กว่า 98 พื้นที่ 2,200 อัตรา เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มหาวิทยาลัยพะเยาเป็นที่ยอมรับของชุมชน (Community Recognition)
        ทั้งนี้ การดำเนินงานที่เป็นมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ ยังได้เข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับสากล สร้างการยอมรับในระดับสากล (World Recognition) THE Impact rankings ซึ่งเป็นการสะท้อนการทำงานของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs ,SCImago Institutions Rankings ที่มหาวิทยาลัยพะเยาขึ้นมาเป็นอันดับ 9 ของประเทศไทย ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการเข้าร่วมเป็นสมาชิก UNESCO ในปี 2022 ‘Phayao Learning City : พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้’ เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ระดับเมือง สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาทางการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการ นำไปสู่การสร้างทักษะการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาอาชีพรายได้ และยังเป็นการสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพะเยา อีกด้วย
        การเสวนาภายใต้ หัวข้อ พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม : จากโนบายสู่การปฏิบัติ มุ่งความสำเร็จ มีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้
              รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
              รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
              ศาสตราจารย์ นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
              ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา
              รองศาสตราจารย์ ดร.ซาการียา หะมะ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
       โดยมีผู้ดำเนินการเสวนา รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา มิ่งฉาย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์


  

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   นันทปรีชา ศรีเกิดครืน , ฐิติรัตน์ ทองคำเปลว, เกตุวดี เครือวัลย์, สิริทัชญา พามณี   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   dennapa.pa@up.ac.th   
10/8/2565 12:04:29น. 702
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน