ม.พะเยา จัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2563 เสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นธุรกิจใหม่ (Startup)

25/12/2563 15:56:41น. 277
ธุรกิจใหม่
          วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา จัดกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2563 ณ ห้อง UBO02 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา


 
         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวว่า โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำ 2563 ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยไปใช้ในการพัฒนาชุมชนและสามารถก่อให้เกิดการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ และเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจท้องถิ่นในชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์และบริการแก่กลุ่มองค์กรชุมชน ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างโอกาสทางการตลาด และการแข่งขัน ส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน
          รูปแบบการจัดกิจกรรม คือการร่วมมือระหว่างธนาคารออมสินและมหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นนที่ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย การจัดการทรัพยากร การจัดการผลิตภัณฑ์ และตรายี่ห้อ การปรับปรุง การพัฒนากระบวนการผลิตการวางแผนการเงินจัดทำบัญชี การจัดการราคาความสามารถในการทำกำไร การจัดการการตลาด การจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายที่ไม่เพียงแต่สนับสนุนเงินทุนในการทำประโยชน์ให้กับชุมชน แต่เป็นการแบ่งปันองค์ความรู้ในการพัฒนาสังคม เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วยการร่วมเรียน ร่วมรู้ และร่วมทำ โดยมีนิสิต จำนวนประมาณ 70 คน และแบ่งเป็นทีม ทีมละ 7-10 คน แต่ละทีมเป็นนิสิตที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเพื่อช่วยเหลือชุมชนจากหลากหลายสาขาไม่ต่ำกว่า 2 สาขา และสามารถนำความรู้มาพัฒนาชุมชนตามความรู้ความสามารถของนิสิต และมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำแต่ละกลุ่ม ทั้งหมด 7 กลุ่มองค์กรชุมชนประกอบด้วย
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บปักถักร้อยคนพิการบ้านเจน หมู่ 8
2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์บัวกว๊านพะเยา
3. กลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านห้วยเคียนเหนือ
4. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานสู่การแปรรูปเชิงนวัตกรรม (ข้าวน้ำจำ)
5. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มฮักหนองเล็งทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเกษตร (กลุ่มท่องเที่ยว)
6. กลุ่มชุมชนบ้านบัวหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรอินทรีย์ (กลุ่มท่องเที่ยว)
7. กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ (กลุ่มท่องเที่ยว)





          จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และประกันคุณภาพ ได้กล่าวเปิดงาน และกล่าวขอบคุณผู้บริหารธนาคารออมสิน ที่ได้สนับสนุนการจัดกิจกรรมครั้งนี้รวมถึงขอบคุณผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลุ่มชุมชนต่างๆ ที่ให้ความสำคัญและร่วมดำเนินงานโครงการนี้กับมหาวิทยาลัย และกิจกรรมในวันนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาต่อยอดศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวในชุมชน รวมถึงเป็นประสบการณ์ที่ดีของนิสิตในการทำงานร่วมกับชุมชนให้สามารถสร้างเป็นธุรกิจใหม่หรือสตาร์ทอัพ โดยนำองค์ความรู้และงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยไปต่อยอด หรือนำไปสู่การพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์หรือยกระดับการท่องเที่ยวเพื่่อก่อให้เกิดรายได้ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยาและพื้นที่ใกล้เคียงมาอย่างต่อเนื่องและในอนาคตต่อไป

          ภายในงานได้จัดการแสดงนิทรรศการและจำหน่ายสินค้าบางส่วนของนิสิตที่ดำเนินการร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจ และการนำเสนอผลงานของวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 7 กลุ่ม พร้อมทั้งคัดเลือก ทีมยอดเยี่ยม โดย สถาบันอุดมศึกษาและธนาคารออมสิน ร่วมคัดเลือก "ทีมยอดเยี่ยม" ซึ่งได้แก่ กลุ่มฮักหนองเล็งทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการเกษตร และพิธีมอบเกียรติบัตรและมอบรางวัลให้กับนิสิต กลุ่มองค์กรชุมชน ในครังนี้ด้วย





     

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ปราการ บุญมาวงค์ งานประชาสัมพันธ์   
ข้อมูล/ข่าว :    ธิดาดือน อุตยานะ งานประชาสัมพันธ์   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
25/12/2563 15:56:41น. 277
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน