สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ร่วมจับมือกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ใน กิจกรรม Learning and sharing Co-Creative learning communities

22/8/2565 16:04:48น. 607
Learning and sharing Co-Creative learning communities
ผศ.ดร.น้ำเงิน จันทรมณี รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มอบหมายให้ ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกิจกรรม Learning and sharing Co-Creative learning communities ณ ห้องประชุมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
โดย ดร.ฤทัยภัทร ได้แนะนำ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ว่าเป็นสถาบันแห่งการพัฒนากำลังคนและชุมชนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรมและวัฒนธรรมคุณภาพ ซึ่งมีการขับเคลื่อนงานพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการนำไปสู่ UNESCO Creative City Network หรือ UCCN ใน 2ประเด็นหลัก ได้แก่
1) ฐานที่มั่นสุดท้ายของนกยูงไทยในโลก นกยูงไทย”หรือนกยูงเขียว (green peafowl) ถือเป็นอัตลักษณ์และคุณค่าสำคัญของภูมิภาค ด้วยนกยูงไทยเป็นสัตว์ป่าที่จัดอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของไทย และ IUCN จัดอยู่ในบัญชี Red-List สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ แต่กลับพบจำนวนมากและหนาแน่นอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะในจังหวัดพะเยา ถึงขนาดที่มีนกยูงไทยลงมากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านจำนวนมากจนเป็นวิกฤตความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า อันเป็นที่มาของการแก้ไขวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากฐานการอนุรักษ์เชื่อมโยงวัฒนธรรมและความศรัทธา สู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก อันเป็นหนึ่งในโอกาสที่จังหวัดพะเยาจะนำนกยูงไทย สู่การขับเคลื่อน เชื่อมโยงกับการพัฒนาจังหวัดพะเยา เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ( UNESCO Creative City Network-UCCN) บนรากฐานมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ต่อไป
2) กิจกรรม Design together for Chiangrai เป็นโครงการที่สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ให้ดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2565 โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนที่นำทาง (Roadmap) ของเมืองเชียงรายสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ ให้เกิดเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับการสนับสนุนการพัฒนาเมืองในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. เกิดการมีส่วนร่วม ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนของเมืองเชียงรายสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ และสนับสนุน ยกระดับของเมืองเชียงรายให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของการเป็นสมาชิก เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบในอนาคต
จากนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ร่วมกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก
ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ Sukhothai UCCN for Crafts and Folk Art,Thailand , Weifang UCCN for Crafts and Folk Art,China , Jin Ju UCCN for Crafts and Folk Art,South Korea , Hanoi UCCN for Design,Vietnam , Phetchabiri UCCN for Gastronomy,Thailand , Nan,DASTA : Thailand , Phayao , PU: Thailand , Hanoi, VNU: SIS,Vietnam ,British Council , Thailand , Bangkok, SU: Thailand และSukhothai, NU: Thailand เพื่อนำผลการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประสบการณ์ในครั้งนี้ไปพัฒนาต่อยอดงานศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์นกยูงไทย รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้แนวคิด “think globally but act locally “ ต่อไปอย่างยั่งยืน


     

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์นกยูงไทย   
ข้อมูล/ข่าว :    ข้อมูล: ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี รองผู้อำนวยการฯ ข่าว : นางสาวณัฐชา กิจจา   
เพิ่มข่าวโดย :   thananannad.ha@up.ac.th   
22/8/2565 16:04:48น. 607
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน