เปิดแล้ว “นิทรรศการนกยูงไทยแห่งล้านนาตะวันออก” โครงการล้านนาตะวันออก “เมืองรักษ์นกยูงไทยระดับโลก” สู่การท่องเที่ยวเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา

2/9/2563 13:26:05น. 1237
เปิดแล้ว “นิทรรศการนกยูงไทยแห่งล้านนาตะวันออก” โครงการล้านนาตะวันออก

เปิดแล้ว “นิทรรศการนกยูงไทยแห่งล้านนาตะวันออก” โครงการล้านนาตะวันออก  “เมืองรักษ์นกยูงไทยระดับโลก” สู่การท่องเที่ยวเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ณ มหาวิทยาลัยพะเยา

        วันที่ 2 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์  ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิด“นิทรรศการนกยูงไทยแห่งล้านนาตะวันออก” โครงการล้านนาตะวันออก “เมืองรักษ์นกยูงไทยระดับโลก” สู่การท่องเที่ยวเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการบูรณาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยา จำปาทอง รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์กล่าววัตถุประสงค์การจัดนิทรรศการ พร้อมด้วยรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ เชี่ยวสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุหรัน พันธุ์สวรรค์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิต นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมงานฯ ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

  อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้นกยูงไทย (Green Peafowl learning Center) เพื่อเป็นแหล่งพื้นที่ศึกษาอนุรักษ์นกยูงไทย ผลักดันต้นแบบการอนุรักษ์นกยูงไทยสู่ระดับโลก โดยขับเคลื่อนภารกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การอนุรักษ์นกยูงและอนุรักษ์ป่า ด้านที่ 2 เสริมสร้างเครือข่ายรักษ์นกยูงไทย ทั้งในภูมิภาคและนานาชาติ ด้านที่ 3 บูรณาการการเรียนการสอนกับการอนุรักษ์นกยูง โดยจัดให้มีการผนวกเรื่องชีวิตนกยูงและการอนุรักษ์นกยูงกับการเรียนการสอน ด้านที่ 4 ส่งเสริมการวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุง ศิลปและวัฒนธรรม เพื่ออนุรักษ์นกยูง โดยมหาวิทยาลัยจะนำนักวิจัยทำงานร่วมกับชุมชนในการศึกษาวิจัย สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับนกยูงในจังหวัดพะเยา และการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ให้มหาวิทยาลัยพะเยา และจังหวัดพะเยา เป็นเมืองท่องเที่ยวนกยูงไทยในอนาคตต่อไป

        ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ทางชีววิทยา จัดตั้้งโดยคณะวิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้พื้นฐานทางธรรมชาติ ของสิ่งมีชีวิต มุ่งเน้นการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นสื่อกลางในการสื่อสารให้ชุมชนภายนอกมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และคุณค่าของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปณิธานของมหาวิทยาลัย “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ภายใต้โครงการล้านนาตะวันออก “เมืองรักษ์นกยูงไทยระดับโลก” สู่การท่องเที่ยวเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้ง ได้รับความร่วมมือจาก กองอาคารสถานที่ ศูนย์การเรียนรู้นกยูงไทย มหาวิทยาลัยพะเยา รวมถึงสถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยี และโครงการนกยูงไทยของ สวทช. ปี 2563-2564 ภายในนิทรรศการประกอบด้วย ประวัติทางธรรมชาติวิทยาของนกยูงไทย ได้แก่ สัณฐานวิทยาภายนอก ภายใน โครงกระดูกของนกยูงไทย และแหล่งพืชอาหารสำคัญ ของนกยูงไทย รวมทั้ง การจัดแสดงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์และพืช เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าศึกษาได้ด้วยตนเอง



   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   พิศุทธิ์ จิโรจน์กุล   
ข้อมูล/ข่าว :    ชัชชญา ถูกจิตร   
เพิ่มข่าวโดย :   Suttikran.kh@up.ac.th   
2/9/2563 13:26:05น. 1237
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน