ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) หนึ่งทางเลือกใหม่ของพลังงานทดแทน สำหรับคนยุคใหม่

9/9/2564 11:29:24น. 2074
ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) หนึ่งทางเลือกใหม่ของพลังงานทดแทน สำหรับคนยุคใหม่

           ในยุคการเปลี่ยนแปลงพลังงานอย่างก้าวกระโดด (Energy Disruption) พลังงานไฟฟ้าจะมีบทบาทและทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต ทางมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และความเชื่อมโยงทั้งทางด้านพลังงานและทางด้านสิ่งแวดล้อม


ยานยนต์ไฟฟ้า
ยานยนต์ไฟฟ้า
ยานยนต์ไฟฟ้า

แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศตามนโยบาย 30/30


           เนื่องจากความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทางมหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ในการจัดทำงานวิจัยด้านระบบสมาร์ตกริด ภายใต้โครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานราชการ (Campus Power) ขนาด 500 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งตอนนี้กำลังเข้าสู่การดำเนินการ ระยะที่ 2 เป็นการขยายพลังงานไฟฟ้าระบบสมาร์ตกริด สู่ชุมชน จังหวัดพะเยา


          โดยมหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ได้มีความร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินโครงการบริหารจัดการเพื่อประหยัดพลังงานในมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเป็นการติดตั้งงระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (เซลล์แสงอาทิตย์) ขนาด 2.9 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งมีระบบการบริการจัดการพลังงาน (Energy Management System) พร้อมระบบตรวจวัดการใช้พลังงานของอาคาร (Energy Monitoring System) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะเป็นผู้สนับสนุนด้านเทคนิค และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ


พลังงานไฟฟ้าระบบสมาร์ตกริด
รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์


        

          ด้วยการพัฒนาที่ก้าวไปไกลของเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่มีข้อดีคือ การปลอดคาร์บอนหรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) หรือก็คือ รถยนต์ที่ปราศจากการปล่อยมลพิษนั่นเอง เพื่อให้เราก้าวไปสู่ในยุคของเทคโนโลยีที่สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์และโลกได้อย่างยั่งยืน


ประเภทของยานยนต์ไฟฟ้า

ประเภทของยานยนต์ไฟฟ้า


         ทางมหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับการชาร์จประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ (EV Charging Station) เพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดและการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง


การชาร์จประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์
การชาร์จประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์


         

        นอกจากนี้ ทางคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ คณบดีคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา ได้เล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงได้จัดทำหลักสูตร "สาขาวิชาการจัดการพลังงานและนวัตกรรม" ในระดับปริญญาโทและเอก เพื่อปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ทางพลังงานและทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน


เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ ระดับปริญญาโท - เอก คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม หลักสูตร สาขาวิชาการจัดการพลังงานและนวัตกรรม


          เนื้อหาโดยโดย ดร.บุญวัฒน์ วิจารณ์พล อาจารย์ประจำคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม





facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :      
ข้อมูล/ข่าว :      
เพิ่มข่าวโดย :   nantawat.mu@up.ac.th   
9/9/2564 11:29:24น. 2074
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน