
ดร.ปิยะพงษ์ สุปัญโญ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม เข้าร่วมเสวนาการสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนาบุคลากรขั้นสูงภาษาไทย-จีน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( CAMT ) ร่วมกับสถาบันขงจื่อ เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับการพัฒนาบุคลากรขั้นสูง โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 ได้ร่วมกันก่อตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน) โดยอาศัยเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยยูนนานนอร์มอล ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในระดับอุดมศึกษาและวิสาหกิจจีน-ไทย ซึ่งโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จและได้รับความสนใจจากนักศึกษาและวิสาหกิจต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง จากการพัฒนาบุคลากรร่วมกันของทั้งสองประเทศ สนับสนุนและสร้างโอกาสเข้าร่วมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และโอกาสในการทำงานหลังจบการศึกษา ด้วยทักษะของบัณฑิตที่มีความโดดเด่นสามารถสื่อสารได้ทั้งสองคือภาษาจีนและภาษาไทย มีความรู้เฉพาะทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน และทักษะการปฏิบัติงานเชิงดิจิทัลอย่างเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรขั้นสูง
โดยวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสถาบันขงจื่อ หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง จึงได้จัดการเสวนาสุดยอด “บุคลากรขั้นสูงภาษาจีน-ไทย+” ในความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม การศึกษาและการวิจัย ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาบุคลากรขั้นสูง และตอบสนองความต้องการบุคลากร “ภาษาไทย-จีน +พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน” “Thailand-China CBEC” Workforce Development Forum เพื่อยกระดับการพัฒนาบุคลากรขั้นสูงทั้งสองประเทศ โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ ในขอบเขตพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนของประเทศจีนและประเทศไทย
โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กิตติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงานในครั้งนี้ รวมถึง ผศ.ดร.ทพญ.วรกัญญา บูรณพัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Prof. Wang Deqiang อธิการบดี มหาวิทยาลัยยูนนานนอร์มอล กล่าวสนับสนุนโครงการ ตลอดจนบริษัท ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน เข้าร่วมการเสวนาสุดยอดดังกล่าว เพื่อแบ่งปันข้อมูลและอภิปรายแบบโต๊ะกลมร่วมกัน ซึ่งการเสวนารูปแบบ ออนไซต์ และถ่ายทอดสดบนแพลตฟอร์มจีนและไทย บนแพลตฟอร์ม Facebook, Youtube และ Bilibili วันที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม 201 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITSC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่