มหาวิทยาลัยพะเยา ตอบรับโจทย์ อว. ผลักโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลรากแก้วสร้างประเทศ : UP to Tumbon

9/2/2564 16:13:46น. 1007
U2T
       ตามมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ได้อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ที่ดำเนินงานภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือมหาวิทยาลัยสู่ตำบล รากแก้วสร้างประเทศ (University to Tumbon:U2T) ซึ่งเป็นโครงการจ้างงาน นิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ (System Integrator) การจ้างงาน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมนประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data)
       ในพื้นที่ที่ครอบคลุม กว่า 67 ตำบลในจังหวัดพะเยา 2 ตำบลในจังหวัดเชียงราย และ 1 ตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยพะเยานำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภากร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา มีกรอบแนวความคิด (Conceptual Framework ) ที่จะปฏิบัติงานตามภารกิจของกระทรวง อว. การปฏิบัติงานตามกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลของมหาวิทยาลัย และจัดทำข้อมูลราชการให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Government Data) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ที่มุ่งพัฒนาตำบลสู่ความยั่งยืน (Sustainable) ความพอเพียง (Sufficiency) และพ้นความยากลำบาก (Survive) เพื่อลดปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน (Targeted Poverty Alleviation) จำนวน 70 ตำบล

       การดำเนินงานโครงการดังกล่าว ภายใต้ความรับผิดชอบโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม อาศัยความร่วมมือกับ 12 คณะ และสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยการนำองค์ความรู้ของคณาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยไปช่วยบริการุมชนในด้านต่างๆ พัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ รวมถึงการสร้างและพัฒนา Creative Economy ตลอดจนส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน (Circular Economy) โดยมีเป้าหมาย 16 ประการ เพื่อการหลุดพ้นความยากจน ผ่านความร่วมมือจากภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ได้ส่งมอบผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้น 1,400 อัตรา ที่จะก่อให้เกิดการจ้างงาน 20 คน/ตำบล แบ่งเป็น นิสิต/นักศึกษา จำนวน 350 คน บันฑิตจบใหม่ จำนวน 700 คน จำนวน ประชาชน จำนวน 350 คน โดยได้รับงบประมาณการจ้างงานทั้งสิ้น 169,400,000 บาท และได้ทำการปฐมนิเทศผู้ปฏิบัติงานไปแล้ว เมี่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งมีกำหนดจ้างงานตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 ธันวาคม 2564
        โครงการดังกล่าว ยังตอบสนองวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยพะเยา “มหาวิทยาลัยสร้างปัญญา เพื่อนวัตกรรมชุมชนสู่สากล” (University for community Innovation with international standard) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายสากลที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะ SDG1 No Poverty (ขจัดความยากจน) SDG2 Zero Hunger (ขจัดความหิวโหย) และ SDG17 Partnerships for the goals (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ที่มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในระดับชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน พัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่ครอบคลุมในทุกมิติอย่างยั่งยืน


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ธนพงษ์ โพธิ์แจ่ม   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   sudaporn.ar@up.ac.th   
9/2/2564 16:13:46น. 1007
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน