คณะวิทยาศาสตร์ ม.พะเยา มุ่งสร้างและสานต่อ ผลงานวิจัยเพื่อชุมชนสู่สากล

15/9/2564 20:40:30น. 716
สภากาแฟ

           วันพุธที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เดินทางเข้าเยี่ยมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ในโอกาสทางคณะเป็นเจ้าภาพจัดสภากาแฟสัญจร ครั้งที่ ๓ เพื่อรับฟังนโยบายการดำเนินงานของคณะ โดยมีคณบดีและบุคลากรให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมคณะวิทยาศาสตร์




           คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์ นำเสนอผลงานวิจัยที่ทางคณะได้ดำเนินงานเป็นโครงการโดยเน้นนำองค์ความรู้จากการวิจัย บูรณาการเป็นต้นแบบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน เพื่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยผลงานวิจัยและกลุ่มวิจัย ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ปัจจุบันมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ระดับชาติ และระดับนานาชาติตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ - ปี ๒๕๖๔ ตาม Super KPI สายวิชาการ จำนวน ๒๖๐ งาน และของสายสนับสนุน จำนวน ๕๗ งาน




         ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์มีผลงานวิจัยที่ลงสู่ชุมชน สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยและคณะหลายโครงการ เช่น
๑. โครงการพลิกฟื้นข้าวอินทรีย์วิถีจุนด้วยกลไกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน (ปี ๒๕๖๐)
๒. โครงการองค์ความรู้จากการวิจัยสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริ “ทุ่งมอก(เชียงม่วน) โมเดล” (ปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๓)
๔. โครงการ “แม่อิงชิโบริโมเดล” ภายใต้โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit: SID) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ๒ (ปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔)
๕. นวัตกรรมโรงเรือนอัจฉริยะปลูกผักอินทรีย์เพื่อชุมชน (ปี ๒๕๖๔)
๖. ต้นแบบการพัฒนาระบบเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตามบริบทภาคเหนือตอนบน งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ปี ๒๕๖๔)
๗. การประยุกต์ใช้นวัตกรรมบริหารจัดการน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินยกระดับขีดความสามารถชุมชนเพื่อรับมือภัยแล้ง ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (ปี ๒๕๖๔)
๘. “รางวัล ๑ คณะ ๑ ชุมชนนวัตกรรม เหรียญทอง” โครงการการบริหารจัดการขยะชุมชนตำบลจุนแบบมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางสังคม (ปี ๒๕๖๔) ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ ๑๐


          อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ ได้กล่าวชื่นชมพร้อมชี้แนะการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยน้อมนำปาฐกถา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงแสดงปาฐกถา เรื่อง "ชีวิตหลังโควิด-19" พระราชทานแก่ผู้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพผู้บริหารระดับสูง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หลักสูตร WiNS) เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๔ สรุปใจความว่า
    ๑. จัดการเรียนการสอนที่มิใช่มุ่งสอนแต่ความรู้ แต่สอนให้เรียนรู้รอบด้านให้มีทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน และทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตาม
    ๒. บ่มเพาะคนดี มีจิตอาสา เข้าใจ และเข้าถึงวัฒนธรรมไทย พหุวัฒนธรรมและหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    ๓. บริการวิชาการและวิชาชีพ ให้แก่ผู้ประสงค์จะเพิ่มพูนความรู้และทักษะเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว ทั้งออนไลน์และระบบห้องเรียน
    ๔. ร่วมมือกัน วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐาน เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาศิลปวิทยาและเทคโนโลยีเอง
    ๕. เป็นที่พึ่งทางวิชาการและวิชาชีพแก่ชุมชน และประชาชนฐานรากอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

          กิจกรรมสภากาแฟสัญจร ครั้งที่ ๓ ของมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นกิจกรรมยามเช้าใช้เป็นโอกาสให้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยได้พบปะผู้บริหารและบุคลากรคณะ เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานตามพันธกิจ พร้อมร่วมแลกเปลี่ยน รับฟังข้อเสนอแนะ และแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนและบริหารงานภายในคณะต่อไป

 


  

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   พิศุทธิ์ จิโรจน์กุล งานประชาสัมพันธ์   
ข้อมูล/ข่าว :    คณะวิทยาศาสตร์ / ธิดาเดือน อุตยานะ งานประชาสัมพันธ์   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
15/9/2564 20:40:30น. 716
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน