มหาวิทยาลัยพะเยา ฉลอง UNESCO Hackathon พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ Learning city forum

24/2/2565 9:20:25น. 767
มหาวิทยาลัยพะเยา ฉลอง UNESCO Hackathon  พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ Learning city forum

มหาวิทยาลัยพะเยา ฉลอง UNESCO Hackathon

พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ Learning city forum

 

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. มหาวิทยาลัยพะเยา จัดงานเฉลิมฉลอง พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ Learning City เพื่อเข้าสู่ UNESCO โดยมี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ผู้ช่วยอธิการบดี รองศาสตราจารย์ดร.ผณินทรา ธรีานนท์ และ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ กล่าวรายงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา และประชาชนชาวจังหวัดพะเยา โดยงานเฉลิมฉลอง พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ Learning City เพื่อเข้าสู่ UNESCO กิจกรรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ลานหน้าอาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ริมกว๊านพะเยา โดยภายในงาน ได้มีการจัดงาน Hackathon ตลาดชุมชน ภายใต้การออกแบบสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม (BCG Model)    และกิจกรรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดําเนินกิจกรรม พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้

         โครงการ “กลไกการบริหารและพัฒนาเส้นทางแห่งการเรียนรู้ในเขตเมืองพะเยาเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบด้วย BCG โมเดล” หรือโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ปีที่ ๒ มีฐานคิดและฐานการทํางานจาก BCG โมเดล โครงการ ๑ คณะ ๑ สัญลักษณ์ความสําเร็จ มหาวิทยาลัยพะเยา และการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของเขตเมืองพะเยา ในปีที่ ๒ นี้ พื้นที่เมืองแห่งการ เรียนรู้ของเมืองพะเยาสามารถทําให้เกิดการรวมกลุ่มชุมชนใหม่ เช่น ตัวแทนจาก ๑๔ ชุมชนมารวมกัน เป็นกลุ่มใหม่ ชื่อ สานใจฮัก สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา และสามารถสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงกับ หน่วยกิต มหาวิทยาลัยพะเยา และสร้างรายได้ได้ด้วยตนเอง ภาคีเครือข่ายทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ยกระดับคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจและพัฒนา คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ ผลลัพธ์ คือ รายได้ครัวเรือน หรือ ชุมชน เพิ่มขึ้น ๕% เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ จากการเรียนรู้บนเส้นทางการเรียนรู้พะเยา Learning City โดยผลิตภัณฑ์อยู่บนพื้นฐาน ภูมิปัญญาเดิม ที่สามารถช่วยลด Carbon Credit ได้อย่างน้อย ๑๐% กลุ่มเป้าหมายของโครงการเป็นแรงงานนอกระบบ กลุ่มสูงวัย และแม่เลี้ยงเดี่ยวเด็กพิการ ซึ่งมีจํานวนรวมกันมากกว่า ๑๒% ของประชากรจังหวัดพะเยา โดยใช้กลไกการบริหารเมืองร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลักสูตร การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน (Local Study) บนพื้นฐาน BCG โมเดลและพื้นที่ สร้างสรรค์การเรียนรู้เป็นเครื่องมือ

          “มหาวิทยาลัยพะเยาอยู่ในพื้นที่ที่มีความสวยงามและเข้มแข็ง ในเรื่องวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สีเขียว BCG โมเดล จึงเป็นเรื่องที่สอดรับกับปณิธานและความมุ่งมั่น ของมหาวิทยาลัยพะเยา ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานรัฐและเอกชนที่ช่วยสนับสนุน จะทําให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าประสงค์ต่อไป มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนทางด้านงานวิจัย ที่พัฒนาและสร้างสรรค์ และจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้อง รวมทั้งพัฒนาและสร้างวิถีแห่งการเรียนรู้ เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกับท้องถ่ิน ในอําเภอต่าง ๆ ผ่านโครงการ “๑ คณะ  สัญลักษณ์ความสําเร็จ” ซึ่งเป็น ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยากับเทศบาลเมืองพะเยา ชุมชน ในเทศบาลเมืองพะเยา กลุ่มผู้สูงอายุ และสภาเด็ก รวมทั้งชมรมเด็กพิเศษ ตลอดจนมุ่งพัฒนากลุ่มแรงงานนอกระบบทุกเพศทุกวัย ผ่านกิจกรรมใน หลักสูตร “UP to Upskill/ Reskill/ Newskill” ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ซึ่งผู้เรียนสามารถ เก็บจํานวนชั่วโมงเป็นหน่วยกิต (credit bank) ของมหาวิทยาลัยพะเยาได้ ทําให้เกิดการยกระดับความรู้ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้ง กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผ่านการเรียนรู้แบบ Cross- learning community คือการนําคนต่างช่วงวัย ต่างชุมชนมาเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ท้องถิ่น วิถีชีวิตและวัฒนธรรม” อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยากล่าว

               ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยพะเยาจะดําเนินโครงการ ๓ โครงการย่อยร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่

. การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเมืองและพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองพะเยา ด้วย BCG โมเดล เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสังคมที่ยั่งยืน

. การพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้บนพื้นฐาน BCG โมเดล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจให้แรงงานนอกระบบบนเส้นทางแห่งการเรียนรู้ พะเยา Learning city

. การสร้างสรรค์เส้นทางและพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ในเขตพื้นที่เมืองพะเยาด้วยการออกแบบ ทางสถาปัตยกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางแห่งการเรียนรู้จังหวัดพะเยาตามแนวทาง BCG โมเดล



      

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   พิศุทธิ์ จิโรจน์กุล   
ข้อมูล/ข่าว :    รัตนพงษ์ ธำรงทอง   
เพิ่มข่าวโดย :   rattanapong.tu@up.ac.th   
24/2/2565 9:20:25น. 767
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน