ผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วยนักวิจัยคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมรายงานความก้าวหน้า ในงานวิจัยเรื่อง มหาวิทยาลัยพะเยา : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (ข้าวหอมมะลิพะเยา)

2/12/2562 17:43:58น. 166
นักวิจัยคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์_ข้าวหอมมะลิ

          วันที่ 2 ธันวาคม 2562 รองศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วย ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ  รองคณบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ ในฐานะนักวิจัยร่วมและผู้รับผิดชอบโครงการวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์ผล ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ในฐานะนักวิจัยร่วมเข้าร่วมรายงานความก้าวหน้า ในงานวิจัยเรื่อง มหาวิทยาลัยพะเยา: กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น(ข้าวหอมมะลิพะเยา) รอบ 3 เดือน ณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ฝ่ายหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่

          โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย ได้อธิบายไว้ว่า “มหาวิทยาลัยพะเยาได้วางบทบาทของตนเองเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ดังนั้นโครงการดังกล่าวเป็นการหนุนเสริมให้เกษตรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ มีตลาดทางเลือก หรือตลาดเพิ่มเติมให้กับประชาคมในมหาวิทยาลัยพะเยา ทำให้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และวางแผนจัดการข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ให้มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น โดยวางแผนทำเป็นตราสินค้าของมหาวิทยาลัย จะจัดจำหน่ายทั้งตลาดออนโลน์ ตลาดออฟไลน์ รวมทั้งกำหนดนโบายที่เหมาะสมในการซื้อข้าวของมหาวิทยาลัยในอนาคต”

          ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ ได้รายงานผลการศึกษารอบ 3 เดือนไว้ว่า “ปริมาณการทานข้าวของประชาคมในมหาวิทยาลัยม่ีปริมาณการทานมากกว่า 20 ตันต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นตลาดใหญ่ ตลาดหนึ่งของพะเยา แต่ข้าวที่ขายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย เป็นข้าวที่มาจากต่างจังหวัดจำนวนมาก ทั้งที่ปริมาณข้าวในจังหวัดพะเยามีเพียงพอ ดังนั้นหากมีการพัฒนาระบบตลาดที่ดีในอนาคต จะทำมี ประชาคมในมหาวิทยาลัยพะเยาได้ทานข้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งในปีนี้ข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยาได้รับรางวัลชนะเลิศทำให้เป็นโอกาสของประชาคมในมหาวิทยาลัย มีมากกว่า 20,000 คนได้ทานข้าวที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล ได้กล่าวเสริมไว้ว่า “ช่องว่างของปริมาณข้าวหอมมะลิที่เหลือจากการขายข้าวหอมมะลิระบบโควตามีจำนวนมาก แต่เกษตรกลับขายไม่ได้ราคาเท่าที่ควรเนื่องจากตลาดจำกัด ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะเป็นตลาดใหม่ของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา

          และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัตน์ พิทักษ์พล ได้นำเสนอเกี่ยวกับ ตลาดในอนาคต คือ “สถาบันฯ ได้มีหน่วยงานทางด้าน Start UP จะมาช่วยในการพัฒนาผู้ประกอบการอออนไลน์ เพื่อเสริมแรงการซื้อข้าวหอมมะลิในแบรนด์ของมหาวิทยาลัยพะเยา”

          สุดท้าย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา รักษาการผู้อำนวยการหน่วยนบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กล่าวชมเชย มหาวิทยาลัยพะเยาในการดำเนินโครงการวิจัยและสามารถเป็นต้นแบบของการทำงานในลักษณะของการจัดการข้อมูลพื้นฐานหรือ Big Data รวมทั้งการพัฒนาโจทย์วิจัยได้ชัดเจน รวมถึงสามารถวางกลยุทธ์ในการบริหารโครงการวิจัยได้ดี และสามารถขอทุนวิจัยต่อยอดได้อนาคต





facebooktwitterline


ภาพ :   ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ   
ข้อมูล/ข่าว :    ดร.วารัชต มัธยมบุรุษ   
เพิ่มข่าวโดย :   pokbaworn.po@up.ac.th   
2/12/2562 17:43:58น. 166
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน