ประชุมคณะกรรมการร่างธรรมนูญนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1 (การจัดทำธรรมนูญนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ )

29/11/2565 14:00:09น. 688
ร่างธรรมนูญนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์

          วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:30-19:00 น. คณะกรรมการร่างธรรมนูญนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ อันประกอบด้วยไป ผศ.สุนทร สุขสราญจิต รักษาการแทนผู้ช่วยคณบดี ในนามตัวแทนคณะผู้บริหารและอาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีศิริพงษ์ เผ่าต๊ะใจ นักวิชาการศึกษา ตัวแทนเจ้าหน้าที่คณะ และนิสิตตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ในสังกัดคณะและหลักสูตรทั้งสิ้น 10 องค์กร รวมถึงคณะกรรมการร่างในนามอิสระ รวมทั้งหมด 24 คน ได้เปิดการประชุมคณะกรรมการร่างธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ห้องประชุม B202

          ผศ.สุนทร สุขสราญจิต ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ เมื่อช่วยกันออกแบบโครงการสร้าง ค่านิยม กฎระเบียบขององค์กรในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว ต่อไปอาจารย์และเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ออกความคิดเห็นเพิ่มเติมและอำนวยการสนับสนุนเท่านั้น ให้บทบาทหลักอยู่ที่นิสิตทั้งหมด ในส่วนของวาระเพื่อพิจารณา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอาทิเช่น ค่านิยมองค์กรคณะกรรมการร่างธรรมนูญ

1. ให้ถือความขัดแย้งเป็นกระบวนการในการสร้างสิ่งที่ดีที่สุด เราไม่อาจหลีกเลี่ยงมันได้ แต่เราต้องช่วยกันถกเถียงแล้วหาจุดร่วม เพื่อให้ได้ข้อยุติในห้องประชุมเท่านั้น

2. จะใช้หลักเสียงข้างมาก 2/3 เป็นการหาข้อสรุป หลังการถกเถียงกันอย่างละเอียดแล้ว เนื่องจากหลักเสียงข้างมาก 51% มีข้อดีคือรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือเสียงข้างน้อยถูกกลบลบความสำคัญลงไป ส่วนหลักเสียงเอกฉันท์ มีข้อดีคือมีการหารือ ถกเถียงกันอย่างละเอียดและตกผลึกทางความคิด แต่มีข้อเสียคือล่าช้า

3. การทำงานของคณะกรรมการร่างธรรมนูญจะยึดหลักความถูกต้องของหลักการ และผลประโยชน์ส่วนรวม จะไม่มีการตัดสินผ่านหลักการ “พวกฉัน พวกเธอ พวกมากลากไป”

4. ข้อตกลงจะไม่เกิดจากคนใดคนหนึ่ง องค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เกิดจากการปรึกษาหารือร่วมกัน ในกรณีที่ไม่สามารถทำได้ตามข้อตกลงนั้นได้ ให้ใช้หลักความยืดหยุ่นมาประกอบ ผ่านการเปิดรับฟังคำอธิบาย หรือเหตุผล ของผู้ที่ไม่สามารถทำตามข้อตกลงนั้นได้

วิถีการทำงานขององค์กร

1. เมื่อประชุมหารือ และได้บันทึกการประชุม จะมีการเผยแพร่ผ่าน page สำนักข่าวฯ และ share ไปยัง page คณะฯ

2. เช่นเดียวกับการร่างธรรมนูญในหมวดต่างๆ เมื่อที่ประชุมร่วมกันร่างเสร็จแล้ว จะมีกระบวนการเปิดช่องทางการมีส่วนร่วมแก่ประชาคมอย่างน้อย 3 ทาง คือ หนึ่ง การเผยแพร่ร่างธรรมนูญในหมวดนั้นๆ ทันที่ทาง page สำนักข่าวฯ share ไปยัง page คณะฯเพื่อให้ประชาคมเข้ามาแสดงความคิดเห็น อีกทั้งจะมีการแปลงเป็นรูปภาพประกอบคำอธิบายที่เข้าใจง่าย สอง เมื่อร่างครบทุกหมวดและมาตรา จะเปิดประชาคมรับฟังความคิดเห็น สาม หลังจากหารือและปรับแก้แล้วจะเปิดให้มีการลงประชามติ โครงสร้างขององค์กรจะประกอบไปด้วย

1. ประธานคณะกรรมการร่างธรรมนูญ และฝ่ายบริหาร

2. ฝ่ายประชาสัมพันธ์

3. ฝ่ายเอกสาร

4. ฝ่ายการเงิน

5. ฝ่ายเลขานุการ

6. ฝ่ายอื่นๆ (เพิ่มเติมภายหลัง)

หมวดต่างๆ ในธรรมนูญจะประกอบไปด้วย (เพิ่มภายหลังได้)

1. อารัมภบท

2. คณะผู้บริหารคณะ

3. อาจารย์

4. เจ้าหน้าที่

5. สโมสรนิสิตคณะ

6. สภานิสิตคณะ

7. คณะกรรมการการเลือกตั้ง

8. สำนักข่าวคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์

9. ชมรมวิชาชีพ

10. การทำงานร่วมกันขององค์กรในสังกัดคณะ

11. การทำงานร่วมกันขององค์กรในสังกัดคณะและหลักสูตร

12. สิทธิเสรีภาพของนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์

13. หน้าที่ของนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์

14. สวัสดิการของนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์

15. การบริหารและการตัดงบประมาณกิจการนิสิต

16. การจัดการความขัดแย้งระหว่างองค์กรและการฟ้องร้องระหว่างองค์กร หรือระหว่างบุคคลกับองค์กร

17. การแก้ไขธรรมนูญ

18. อื่นๆ

ทั้งนี้ การประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 7 ธ.ค. 2565 เวลา 16:30 – 19:00 น. ณ ห้องประชุมคณะฯ


เอกสารบันทึกสรุปการประชุมคณะกรรมการร่างธรรมนูญ

ข้อมูล/ข่าวสารเพิ่มเติม

เว็บไซต์คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ : https://spss.up.ac.th

Facebook คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ : https://www.facebook.com/spss.up.ac.th/






   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   สำนักข่าวคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์   
ข้อมูล/ข่าว :    สำนักข่าวคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์   
เพิ่มข่าวโดย :   tanarin.kh@up.ac.th   
29/11/2565 14:00:09น. 688
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน