ม.พะเยา ได้รับการจัดอันดับ 9 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับโดย Times Higher Education Impact Rankings 2023

8/6/2566 16:18:43น. 4600
มหาวิทยาลัยพะเยา การจัดอันดับ
        วันที่ 2 มิถุนายน 2566 Times Higher Education (THE) สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจากประเทศอังกฤษ ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Impact Rankings 2023 หรือมหาวิทยาลัยที่ดำเนินพันธกิจเพื่อสังคมและชุมชน ที่วัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยทั่วโลกในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ผ่านการประเมินตัวชี้วัดโดยแบ่งเป็น 4 ขอบเขตหลัก คือ ได้แก่ 1) งานวิจัย 2) นโยบายและแนวทางปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย 3) การเชื่อมโยงกับสังคมไทยและสังคมโลก และ 4) การเรียนการสอน โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยพะเยา
       มหาวิทยาลัยพะเยาได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 301-400 จากทั้งหมด 1,591 สถาบันทั่วโลก และ อยู่ในอันดับที่ 9 ของประเทศไทย โดยการจัดอันดับในครั้งนี้มหาวิทยาลัยพะเยาได้ส่งผลการดำเนินงานเข้าร่วมทั้งหมด 9 ด้านจากทั้งหมด 17 ด้าน ได้แก่
SDG2 : Zero Hunger ขจัดความยากจน อันดับที่ 11 ของประเทศไทย (อันดับที่ 201 - 300 ของโลก) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
SDG3 : Good Health and well-being สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี อันดับที่ 10 ของประเทศไทย (อันดับที่ 401-600 ของโลก) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสยาม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
SDG4 : Quality Education การศึกษาที่มีคุณภาพ อันดับที่ 6 ของประเทศไทย (อันดับที่ 101-200 ของโลก) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
SDG5 : Gender Equality ความเท่าเทียมทางเพศ อันดับที่ 7 ของประเทศไทย (อันดับที่ 101-200 ของโลก)
SDG9 : Industry, Innovation and Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมและอุตสาหกรรม อันดับที่ 11 ของประเทศไทย (อันดับที่ 401-600 ของโลก) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
SDG11 : Sustainable cities and Communities เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน อันดับที่ 12 ของประเทศไทย (อันดับที่ 301-400 ของโลก) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
SDG12 : Responsible Consumption and Production สร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน อันดับที่ 10 ของประเทศไทย (อันดับที่ 201-300) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
SDG15 : Life on Land ระบบนิเวศทางบก อันดับที่ 6 ของประเทศไทย (อันดับที่ 101-200 ของโลก) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
SDG17 : Partnership for the goals ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อันดับที่ 15 ของประเทศไทย (อันดับที่ 401-600 ของโลก) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลย์สงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.timeshighereducation.com


ซึ่ง 3 อันดับแรกที่มหาวิทยาลัยได้รับคะแนนการประเมินสูงสุดคือ


SDG4 : Quality Education การศึกษาที่มีคุณภาพ ได้รับคะแนนการประเมิน 66.6 - 73.0 คะแนน มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นและส่งเสริมให้กับคน ทุกเพศ ทุกวัยมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all)สร้างโอกาสให้ทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

SDG5 : Gender Equality ความเท่าเทียมทางเพศ ได้รับคะแนนการประเมิน 61.5 - 66.9 คะแนน ที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติและนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมเพศหญิง นโยบายส่งเสริมเพศทางเลือก รวมถึงนโยบายส่งเสริมครอบครัว สนับสนุนให้เกิดสถานรับเลี้ยงเด็กในมหาวิทยาลัย เพื่ออำนวยความสะดวกต่อนิสิตหรือบุคลากรที่มีบุตร และยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาแก่นิสิตและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

SDG12 : Responsible Consumption and Production สร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ได้รับคะแนนการประเมิน 58.7 – 66.7 คะแนน ที่มหาวิทยาลัยมีเจตจำนงในการบริหารจัดการขยะและขยะอันตรายภายในมหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคทรัพยากรและการจัดการขยะอย่างยั่งยืน รวมถึงมาตรการลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Reduce Single-Use Plastic Waste) ส่งเสริมการแยกขยะ นำกลับไปใช้ประโยชน์และการปลูกฝังจิตสำนึกในมหาวิทยาลัย




facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ธนภัทร นวลศรี   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   dennapa.pa@up.ac.th   
8/6/2566 16:18:43น. 4600
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน