คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดโครงการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิตครั้งที่ 7 (The 7th Med-Sci Student Research 2022: MSSR7)

25/3/2565 17:50:19น. 329
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์  MSSR7

วันที่ 25 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์นำโดย ผศ.ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมเปิดโครงการและรับฟังการนำเสนอผลงานแก่นิสิตในรูปแบบออนไลน์  

โดยการจัดโครงการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิตครั้งที่ 7 (The 7th Med-Sci Student Research 2022: MSSR7 โครงการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิตครั้งที่ 7 (The 7th Med-Sci Student Research 2022: MSSR7) ในปีงบประมาณ 2565 นี้ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดขึ้นเป็นปี 7 โดย ในครั้งแรก จัดขึ้นในปีงบประมาณ 2559 จัดในชื่อของโครงการ  โครงการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิต: สัมมนาวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และในปี 2565 จัดในชื่อ โครงการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิตครั้งที่ 7 (The 7th Med-Sci Student Research 2022: ) หรือเรียกว่า MSSR7 โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกสาขาวิชาได้ร่วมมานำเสนอผลงานวิจัย ผลการฝึกปฏิบัติงานจากการฝึกงานและ สหกิจศึกษา ใน รูปแบบบรรยากาศของงานประชุมทางวิชาการ มีการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย โดยมีคณะกรรมการในการซักถามและแนะนำ เพื่อให้นิสิตได้ฝึกทักษะการนำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานวิจัยก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาในหลักสูตร โดยในครั้งนี้มีผลงาน กว่า 46 ผลงานในการนำเสนอ

โดย ผศ.ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ผลงานวิจัยจากการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study) มักเป็นงานที่เกิดจากความสนใจใคร่รู้ในเรื่องนั้น ๆ ของนิสิตเป็นการส่วนตัว เมื่อนิสิตมีข้อสงสัยหรืออยากได้ความรู้ใหม่ๆ ทำให้นิสิตต้องมีการสืบเสาะหาความรู้แบบประมวลสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน (Comprehensive investigation) อาทิ การค้นคว้าเอกสารและอ่านเพิ่มเติมแบบมีวิจารณญาณอันนำมาสู่การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) ตามมา  มีการใช้ทั้งทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skills and Scientific methods) เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์สมมติฐานหรือข้อสงสัยนั้น และเมื่อได้คำตอบที่น่าเชื่อถือเนื่องมาจากคำตอบนั้นได้ผ่านการวิเคราะห์และวิจารณ์อย่างรอบด้าน (Criticized data) มีหลักฐานการอ้างอิงที่เชื่อถือได้แล้วก็ยังมีการเขียนออกมาเป็นรายงาน รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลด้วยวาจา (Oral Presentation) ในเวทีวิชาการอันเป็นกระบวนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนิสิตผ่านการประเมินจากคณาจารย์แล้วก็เป็นที่เชื่อมั่นได้ว่าจะเป็นผู้ที่สามารถเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต (Life-long learning) อันเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษา

อย่างไรก็ดี ดังที่กล่าวข้างต้นองค์ความรู้ที่นิสิตได้มานั้นมักเป็นประเด็นของความอยากรู้อยากเห็นของตนเองเป็นหลัก ทำให้ขาดความเป็นคน “รู้รอบ” หรือ Well-rounded จนอาจกล่าวได้ว่า “เป็นคนฉลาดลึกแต่โง่กว้าง”  คือรู้ลึกซึ้งเฉพาะเรื่องของตนเองเป็นหลักแต่ยังขาดความรู้ข้างเคียงเรื่องอื่นซึ่งยังมีอีกมากมาย ดังนั้นการจัดให้มีโครงการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิต (MSSR, Med-Sci Student Research) จึงเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเป็นการเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวเพื่อที่นิสิตจะได้พัฒนาตนให้เป็นคน “รู้รอบ” และเป็นประสบการณ์ที่จะสามารถนำความรู้มาเชื่อมโยงหรือบูรณาการเพื่อให้เกิดการตกผลึกเป็น “ปัญญา (Wisdom)” ที่แท้จริง สมดังเจตนารมณ์ของปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยพะเยาที่วางไว้เพิ่มเติมว่า “ประสบการณ์สร้างปัญญา True wisdom springs from live experiences

หลังจากการนำเสนอโครงการเสร็จสิ้นทางโครงการได้ประกาศรางวัลผู้นำเสนอยอดเยี่ยมของแต่ละห้องนำเสนอเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่นิสิตที่นำเสนอผลงานได้ยอดเยี่ยมอีก จำนวน 10 รางวัล



    

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   นายวิทยา สุนสุดี   
ข้อมูล/ข่าว :    ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์   
เพิ่มข่าวโดย :   wittaya.su@up.ac.th   
25/3/2565 17:50:19น. 329
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน