กองบริหารงานวิจัยพร้อมด้วยคณะกรรมการ MAI ร่วมติดตาม ชม ช่วย เชียร์ โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์

8/12/2565 15:00:11น. 737
มหาวิทยาลัยพะเยา
        วันที่ 7 ธันวาคม 2565 กองบริหารงานวิจัย พร้อมด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพสู่ความสำเร็จโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม (MAI) รองศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ประสาทเขตร์การ คณะวิทยาศาสตร์ และแพทย์หญิงเพ็ญนิภัท นภีรงค์ คณะแพทยศาสตร์ได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 (ชม ช่วย เชียร์) โครงการ “ธรรมชาติ สัมผัส ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อต่อชีวิต และจิตใจ” โดยมี นางสาวปรียาชนก เกษสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ดำเนินงานในพื้นที่ อำเภอแม่ใจและอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

        “ธรรมชาติ สัมผัส ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อต่อชีวิต และจิตใจ” เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติโดยกลุ่มสตรีจาก 2 อำเภอ ในจังหวัดพะเยา ด้วยแนวทางการออกแบบรูปแบบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยเพิ่มมูลค่า จากคุณค่าของเรื่องราวในการผลิต ที่มากกกว่าการหยิบซื้อผลิตภัณฑ์ แต่เป็นการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ด้วย “สัมผัส” รับรู้ ลึกซึ้งจากเรื่องราว อันมีวัสดุจาก “ธรรมชาติ” เป็นสื่อในการเข้าถึง หรือเป็นตัวชูโรงของผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ได้คัดเลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 2 ผลิตภัณฑ์จาก 2 อำเภอ เข้าร่วมโครงการ (1) กลุ่มผ้าด้นมือ อำเภอภูกามยาว และ (2) กลุ่มใบไม้ ลายลักษณ์ อำเภอแม่ใจ ทั้งสองเป็นกลุ่มหัตถกรรมซึ่งรวมตัวกันระหว่างผู้หญิงวัยกลางคน ซึ่งเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูกหลาน มีความต้องการสร้างคุณค่าในตนเองจากการทำงานเล็กๆน้อยๆ นอกเหนือจากการปลูกผักสวนครัวในรั้วบ้านนำไปจำหน่ายตามร้านค้าชุมชน หรือขี่จักรยานนำไปจำหน่ายตามบ้านแล้ว การทำงานฝีมือที่ใช้อุปกรณ์ไม่มากนักเช่นการเย็บปัก ถักร้อย ถือเป็นงานอดิเรกที่ช่วยสร้างรายได้จากน้ำพักน้ำแรงของตน เพื่อตนเองไม่ต้องพึ่งพา สามีและ ลูกมากจนเกินไป เหล่านี้เป็นการทำงาน “เพื่อต่อชีวิต” ความเป็นตัวของตัวเองจากความเป็นแม่บ้าน ย่า หรือ ยาย ที่ต้องอยู่กับบ้าน รายได้จากงานฝีมือ หรืองานหัตถกรรมนั้นจึงเป็น สิ่งเล็กน้อยที่สำคัญเชิงอำนาจ อำนาจในการจับจ่ายใช้สอยของใช้ส่วนตัวที่ตนอยากได้ ของสวยงาม อาหารที่อยากทาน และคุณค่าในตนเองจากการได้เป็นผู้ให้ ได้ให้เงินกับลูกหลานได้เพื่อในช่วงเทศกาลครอบครัว หรือซื้อขนมให้กับหลานๆ และยังเป็นส่วนสำคัญของการ“ต่อชีวิต”ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในชุมชน อันแสดงถึงการพึ่งพาตนเองของกลุ่มผลิตภัณฑ์ และ/หรือผู้ผลิตสามารถเลี้ยงตัวเองให้อยู่รอดตามความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยส่งผลกับ “ใจ” ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เข้าอกเข้าใจผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   สุดาพร อาจหาญ   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   dennapa.pa@up.ac.th   
8/12/2565 15:00:11น. 737
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน