สกสว. เยี่ยมชมพื้นที่ดำเนินงาน CIGUS Model : มหาวิทยาลัยพะเยา

17/1/2566 10:27:38น. 759
มหาวิทยาลัยพะเยา
        วันที่ 15 มกราคม 2566 คณะอนุกรรมการ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. พร้อมด้วย คุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานอนุกรรมการด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ คุณนิสากร จึงเจริญธรรม รองประธานอนุกรรมการด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ คุณอาณัติ ทรัพย์ทวีกุล อนุกรรมการด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และคณะ ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้า โครงการพัฒนาโมเดลนำร่องในการสนับสนุนและขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อสร้างผลกระทบขนาดใหญ่ในการพัฒนาเชิงพื้นที่และ/อุตสาหกรรมแบบองค์รวมโดยผ่านกลไก มหาวิทยาลัย (CIGUS Model) ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2565 ที่มีศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นหัวหน้าโครงการ และรองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ (ผู้ช่วยอธิการบดี) นางสาวอัญชลี เทียมคีรี (ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย) นางจีรัชญ์ ริมจันทร์ (หัวหน้างานบริหารทุนวิจัย กองบริหารงานวิจัย) นางสาวเกตุวดี เครือวัลย์ นางสาวสิริทัชญา พามณี และนายนันทปรีชา ศรีเกิดครืน (เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป) คณะทำงาน
        CIGUS Model คือ โมเดลที่มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกที่สองปลายทาง คือ ชุมชน (C-Community) ภาคเอกชน (I-Industries) โดยมีมหาวิทยาลัย (University) เป็นผู้บริหารจัดการและขับเคลื่อนหลัก ทำหน้าที่ดูภาพรวมและบูรณาการแบบองค์รวมร่วมกับร่วมกับหน่วยงานรัฐ (G-Government) และภาคประชาสังคม (S-Civil Society) ภายใต้ CIGUS Model มหาวิทยาลัยพะเยาได้ดำเนินงานระยะที่ 1 ในพื้นที่เป้าหมาย 4 พื้นที่ (CIGUS Area Networking) ในจังหวัดพะเยา ได้แก่ ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา และตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา ซึ่งครอบคลุมใน 5 มิติ ทั้งในมิติรายได้ มิติสุขภาพ มิติสิ่งแวดล้อม มิติการศึกษาเรียนรู้ และมิติสังคม
        คณะอนุกรรมการ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จาก สกสว. ได้เยี่ยมชมพื้นที่การดำเนินงาน CIGUS Model ณ แม่อิงชิโบริ ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว ที่ต้องการสร้างรายได้จากอาชีพเสริมจากการประกอบการภาคการเกษตร และการลดรายจ่ายภาคครัวเรือนจากการใช้พลังงาน สมาชิกกลุ่มผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ เป็นกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ทำนาปลูกข้าวเป็นหลัก หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต จะว่างงาน บางส่วนต้องไปรับจ้างนอกพื้นที่ ร่วมกันผลิตสินค้าจากผ้ามัดย้อมชิโบริในนาม “แม่อิงชิโบริ – mae ing shibori” โดยสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ ออกแบบและตัดเย็บ อาศัยภูมิปัญญาล้านนาดั้งเดิม เรื่องการย้อมผ้า ผสานกับองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เรื่องสีย้อมจากธรรมชาติ
        และ ณ สวนซะป๊ะ ฟาร์ม ตำบลแม่กา อำเภอเมือง ที่ต้องการสร้างรายได้จากอาชีพเสริมภาคการเกษตร ผลักดันให้เป็นแหล่งผลิตผักสลัดคุณภาพแนวอินทรีย์ ในรูปแบบ Smart Farm ได้รับมาตรฐานการปลูกผักอินทรีย์ ทั้งยังร่วมกับมหาวิทยาลัย ในการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ย และน้ำ รวมถึงธาตุอาหารสำคัญผลิตผักได้สด ใหม่ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค พร้อมยกระดับห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา ตลอดจนนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้บริหาร และ ผู้ทรงคุณวุฒิ สกสว.




facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   นันทปรีชา ศรีเกิดครืน   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   dennapa.pa@up.ac.th   
17/1/2566 10:27:38น. 759
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน