ม.พะเยา จัดการทรัพยากรน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืน

15/1/2564 15:17:45น. 1087
การจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยพะเยา

          ระบบการจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยพะเยา เดิมที เราใช้น้ำจากแหล่งน้ำหลักๆอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ อ่างเก็บน้ำ “ห้วยนาปอย” ซึ่งเป็นแหล่งน้ำกักเก็บน้ำดิบหลักที่ส่งน้ำให้มหาวิทยาลัยพะเยา ผลิตน้ำประปาไว้ใช้อุปโภคภายในมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยได้ขุดอ่างเก็บน้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ในมหาวิทยาลัยทั้งหมด 2 อ่าง คือ อ่าง 1 และอ่าง 2 แต่อ่างน้ำหลักๆที่นำมาเพื่ออุปโภคนั้นคือ อ่าง 1 ส่วนอ่าง 2 นั้น เป็นอ่างสำรองน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง (เดือนมีนาคม – เมษายน) จำนวนประชากรที่ใช้ชีวิตภายในมหาวิทยาลัย มีความต้องการใช้น้ำในการดำรงชีวิต ชีวิตประจำวัน โดยจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นประชากรใช้น้ำในภาพรวมของมหาวิทยาลัย และกลุ่มที่พักอาศัยในมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งกลุ่มที่ 2 มีความต้องการใช้น้ำมากกว่าในกลุ่มแรก

ภาพ : แหล่งน้ำสำคัญสำหรับการอุปโภคบริโภคภายในมหาวิทยาลัย
ภาพ : อ่างที่ 1
มีปริมาณน้ำคงเหลือ
233,388 ลบ.ม.(ร้อยละ 38)
(นับรวมน้ำทั้งหมดของอ่างเก็บน้ำ)



ภาพ : อ่างที่ 2
มีปริมาณน้ำคงเหลือ
116,609 ลบ.ม.(ร้อยละ 29)
(นับรวมน้ำทั้งหมดของอ่างเก็บน้ำ)


          การจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยพะเยา ณ ปัจจุบัน มีการจัดทำแผนการใช้น้ำดิบและน้ำประปาของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นข้อมูลการบริหารจัดการน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอตลอดฤดูกาลหน้าแล้งที่กำลังจะมาเยือน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้นำเสนอข้อมูลการคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำคงเหลือจากแหล่งน้ำดิบในอ่างเก็บน้ำแห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 เท่าที่ฟุตวาล์วสามารถสูบได้ + ใช้เครื่องพญานาคสูบน้ำในอ่าง เราจะสามารถมีน้ำใช้ได้ถึง 147 วัน (4 เดือน 27 วัน) คาดการณ์ใช้น้ำได้ถึง 11 มิถุนายน 2564 เป็นสัญญาณบ่งบอกให้เราทราบว่า เราต้องใช้น้ำอย่างประหยัด และรู้คุณค่า


          ตามที่กองอาคารสถานที่นำเสนอ ข้อมูลปริมาณและการใช้น้ำดิบและน้ำประปา ณ วันที่ 13 ม.ค. 2564 ของมหาวิทยาลัยพะเยา ให้เราได้ทราบนั้น เป็นการตระหนักให้เราต้องช่วยกันประหยัดน้ำ ใช้น้ำอย่างมีคุณค่า ยกตัวอย่างพฤติกรรมการใช้น้ำอุปโภคบริโภคภายในครัวเรือนก็สามารถประหยัดได้หลายวิธีเช่นกัน
วิธีประหยัดน้ำง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันที่หลายคนมองข้าม
     1. เริ่มกันด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการอาบน้ำ ปกติแล้วเวลาเราอาบน้ำอุ่นเราจะเปิดน้ำทิ้งรอให้น้ำอุ่นประมาณ 2 – 3 นาที ซึ่งเป็นการทิ้งน้ำไปอย่างสูญเปล่า หากเราเปลี่ยนวิธีการรอน้ำอุ่นจากการเปิดน้ำทิ้งเป็นการเปิดใส่ถังหรือกะละมังแทนเพื่อนำไปซักผ้า ถูพื้น หรือรดน้ำต้นไม้ เพื่อเป็นการใช้น้ำทุกหยดอย่างรู้คุณค่า
     2. แปรงฟันโดยใช้แก้วน้ำ การใช้น้ำบ้วนปากและแปรงฟันโดยใช้แก้วจะใช้น้ำเพียงครึ่งลิตรเท่านั้น ถ้าเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ขณะแปรงฟัน จะทำให้เสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ประมาณ 9 ลิตรต่อครั้ง แต่ถ้าใช้แก้วเท่ากับว่า ขวดน้ำ1.5 ลิตร  สามารถใช้แปรงฟันได้ 3 ครั้งเลยทีเดียว
     3. เช็ดคราบสกปรกให้หมดก่อนล้างจาน ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดน้ำแล้วยังช่วยให้ล้างจานง่ายและสะอาดขึ้นด้วย นอกจากนี้ควรล้างจานพร้อมกันในอ่างหรือภาชนะรอง ซึ่งสามารถประหยัดน้ำได้มากกว่าการล้างจานจากก๊อกน้ำโดยตรง
     4. ใช้ชักโครกแบบประหยัดน้ำ แบบแยกที่กดน้ำสำหรับถ่ายหนักและถ่ายเบา หรือการใส่ขวดน้ำ, ถุงพลาสติก, หรือก้อนอิฐ ลงไปในแทงก์น้ำด้านหลังชักโครกช่วยประหยัดน้ำในการกดชักโครกแต่ละครั้ง

         นอกจาก 4 วิธีประหยัดน้ำในชีวิตประจำวันที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีประหยัดน้ำอุปโภคบริโภคในครัวเรือนอีกหลายวิธี ที่สำคัญที่สุดคือการปลูกจิตสำนึกการใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่าทั้งแก่ตัวเราเองและคนรอบข้าง
*ขอขอบคุณข้อมูลจาก Business Insider และ San Diego Union Tribune




   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยพะเยา   
ข้อมูล/ข่าว :    กองอาคารสถานที่ /นางสาวธิดาดือน อุตยานะ งานประชาสัมพันธ์   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
15/1/2564 15:17:45น. 1087
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน