เมื่อฝุ่น PM 2.5 มาเยือน ควรรับมือยังไร ??

27/1/2564 11:38:20น. 598
#ปัญหาฝุ่นละออง #ฝุ่นPM25

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) นับเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ในวันที่เมืองเต็มไปด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ปกคลุมในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้เราใช้ชีวิตลำบากกันมากขึ้น เพราะการอยู่ท่ามกลางอากาศที่มีมลพิษ ซึ่งมหาวิทยาลัยพะเยา โอบล้อมไปด้วยภาพของภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวของทุกปี จะมีทัศนยีภาพที่สวยงาม จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นสถานที่ศึกษาและทำงานให้กับ นักเรียน นิสิต บุคลากร ตลอดจนประชาชนทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม และ สัมผัสบรรยากาศกับมหาวิทยาลัยพะเยาแห่งนี้ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งของทุกปี มหาวิทยาลัยพะเยามักเกิดปัญหาไฟป่า ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งต่อระบบนิเวศน์ ปัญหาทางด้านสภาพอากาศ ( ค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน) ตลอดจนปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยหลัก ที่ต้องหาแนวทางการแก้ไข และสร้างมาตรการที่เข้มข้น ทั้งระดับจังหวัด และ ระดับสถานศึกษาในการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดแก่ประชาชน และเป็นอุปสรรคในการคมนาคมและขนส่ง การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าไม้ รวมทั้งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของพื้นที่ ซึ่งความรุนแรงของปัญหาโดยทั่วไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัดพะเยา และนิสิต ม.พะเยา ได้แก่ ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและนิสิต โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายต่อการค้าขายของพ่อค้ามาค้าหน้ามอเป็นต้น

 ผลกระทบทางสุขภาพ

  • เกิดอาการไอ จาม หรือภูมิแพ้
  • ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
  • เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
  • เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
  • เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด

ผลกระทบทางผิวหนัง

  • มีผื่นคันตามตัว
  • ปวดแสบปวดร้อน มีอาการระคายเคือง
  • เป็นลมพิษ ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิดลมพิษบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ
  • ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย

 

 

ซึ่งอาการเหล่านี้ทำให้รู้สึกหงุดหงิดกับอาการป่วยของตัวเองอยู่ทุกเมื่อ หันมาดูแลสุขภาพของตัวเองและรับมือกับอาการที่เกิดจาก PM 2.5 ไปพร้อมกันด้วยวิธีง่าย ๆ

  1. เลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง
  2. ใส่หน้ากาก N95
  3. ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่
  5. จิบน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง เมื่อมีอาการเจ็บคอ
  6. ล้างจมูก เมื่อหายใจไม่สะดวก โดยใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.9%
  7. ทานยาละลายเสมหะ เมื่อมีอาการไอ


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   นิสิตฝึกงานประชาสัมพันธ์ นางสาวปาริดา มณีสว่าง   
ข้อมูล/ข่าว :    นิสิตฝึกงานประชาสัมพันธ์ นางสาวปาริดา มณีสว่าง   
เพิ่มข่าวโดย :   narong.wo@up.ac.th   
27/1/2564 11:38:20น. 598
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน