สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมจัดพิธี "สืบชะตาบวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี"และพิธีเปิด"กาดต้นเรื่อง พันดาว"

21/1/2566 13:07:43น. 670
สืบชะตาบวชต้นเรืองโบราณ
          สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น ไร่เชิญตะวัน และเครือข่ายรักษ์นกยูงไทยและไพรพฤกษ์ จัดงาน "สืบชะตาบวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี "และพิธีเปิด"กาดต้นเรือง พันดาว"  20 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น. ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานพิธีสืบซะตา บวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี" และพิธีเปิด "กาดต้นเรือง พันดาว" ณ บริเวณลานรักษ์ต้นเรือง ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมี พระเดชพระคุณ พระเมธีวชิโรดม ( ว.วชิรเมธี ) พร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณร พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ รองประธานกรรมการโครงการสมาชิกสภาพบประชาชนในพื้นที่ และคณะ เข้าร่วมในพิธีด้วยรัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริมสนับสนุนผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ให้ใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรในชุมชน ได้ผลิตและพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ตลอดจนการสนับสนุนการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น ร่วมกับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ไร่เชิญตะวัน เครือข่ายรักษ์นกยูงไทยและไพรพฤกษ์ จึงได้กำหนดจัดงาน "สืบชะตา บวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี" และพิธีเปิด "กาดต้นเรือง พันดาว" ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ สืบชะตา และพิธีบวชต้นเรืองโบราณ อายุมากกว่า 500 ปี เพื่ออนุรักษ์ต้นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนตำบลบ้านตุ่น และเปิดกาดต้นเรือง พันดาว เพื่อแสดง จำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของตำบลบ้านตุ่นและจำหน่ายสินค้าการเกษตรของชุมชนตำบลบ้านตุ่น และตำบลใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรม การจัดงาน "สืบชะตา บวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี" และพิธีเปิด "กาดพันดาว" ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนตำบลบ้านตุ่น เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และสินค้าทางการเกษตรของชุมชนตำบลบ้านตุ่น ที่จะนำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของตำบลบ้านตุ่น ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดงาน ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ไร่เชิญตะวัน เครือข่ายรักษ์นกยูงไทยและไพรพฤกษ์ และภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน เป็นอย่างดี


       

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :    นริศ ศรีสว่าง / ฐานนันท์นาฎ หาญเลิศ / ณัฐชา กิจจา ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์นกยูงไทย   
ข้อมูล/ข่าว :    ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้   
เพิ่มข่าวโดย :   thananannad.ha@up.ac.th   
21/1/2566 13:07:43น. 670
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน