คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับชุมชนบ้านต๋อม ร่วมนิทรรศการโครงการ 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ

24/1/2563 10:58:36น. 183
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับชุมชนบ้านต๋อม ร่วมนิทรรศการโครงการ 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับชุมชนบ้านต๋อม ร่วมนิทรรศการโครงการ 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ

วันที่ 23 มกราคม 2563 ชุมชนบ้านต๋อม นำโดย นายสมปราการ ศรีมันตระ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 นางสาว กานต์รวี  ไก่งาม ประธาน อสม. นางขันคำ  ไชยวรรณ  นางคำปัน แก้วก๋า นางกัลยา มีทอง  อส นำโดย นายเรือนมูล ใจการ ผู้ช่วยกำนัน หมู่ที่ 4 นายอ๋อง ขยันขาย ประธานผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 นายประสันรัตน์ ทรัพย์บำรุง นางนงคราญ สันติวงศ์นางชดช้อย ใจการ อสม.หมู่ที่ 4 ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย อ.วิมลมาศ  จันทร์เชื้อ หัวหน้าโครงการ และ ดร.พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ ผู้ร่วมโครงการ ร่วมนิทรรศการโครงการ 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ (1 Faculty 1 Signature) ณ อาคาร ๙๙ ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ชั้น 2 โดยนำเสนอ โมเดลโปรแกรมการดูแลผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากเมตาบอลิซึม(โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำหนักเกินและอ้วน)โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในชุมชนบ้านต๋อมอำเภอเมือง จังหวัดพะเยาประเด็นการนำเสนอพืชสวนบำบัดและอาหารสำหรับผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากเมตาบอลิซึมโดยชุมช

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ : Key Success Factors คือ

1.การศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนในการบูรณาการรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน 2 สำหรับนิสิตพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๋อม ทำให้ทราบสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนที่แท้จริง

2.ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชน ตำบลบ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ทั้งในการบูรณาการรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน 2 สำหรับนิสิตพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 การจัดโครงการพืชผักกับการดูแลสุขภาพ  การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการดูแลผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากเมตาบอลิซึม  

3.เป็นประเด็นที่สอดคล้องกับวิถีชิต และภาวะสุขภาพในชุมชน

4.ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยพะเยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๋อม เทศบาลตำบลบ้านต๋อม  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาในการดำเนินการโครงการเป็นอย่างดี

องค์ความรู้ที่ใช้/ผลวิจัยงานที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วม(Community-Base Participatory Research)ร่วมกับการประเมินความต้องการ(Needs assessment)ทฤษฎีทางการตลาดคือการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย (Means-end-chain analysis)และแนวคิดสวนชุมชน(Community Gardening) มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโครงการพืชผักกับการดูแลสุขภาพ

เป้าหมายของโครงการ : Ultimate Goal เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากเมตาบอลิซึม(โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำหนักเกินและอ้วน)โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีสายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในชุมชนบ้านต๋อมอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประเทศไทย     

Signature Product ที่ได้ :เกิดธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชผัก ผลิตพันธุ์ชุดผักกับลาบและจิ้มน้ำพริกปลอดสารพิษ จากโครงการพืชผักกับการดูแลสุขภาพ ได้รายการอาหารสำหรับผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากเมตาบอลิซึมโดยชุมชน เกิดโครงการ ขยับกาย สบายจิต พิชิตพุง โครงการบ้านร่องไผ่ใส่ใจสุขภาพ และได้โปรแกรมการดูแลผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากเมตาบอลิซึมจากชุมชน

 

 


 





facebooktwitterline


ภาพ :   นายสมเกียรติ วงศ์กลม นายสมปราการ ศรีมันตระ   
ข้อมูล/ข่าว :    อาจารย์วิมลมาศ จันทร์เชื้อ   
เพิ่มข่าวโดย :   suttikran.kh@up.ac.th   
24/1/2563 10:58:36น. 183
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน