นักวิจัยคณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ ร่วมรายงานปิดโครงการรอบ 12 เดือน ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 65

27/6/2566 17:00:54น. 7270
บุคลากร_คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์

ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ ประธานหลักสูตร ปรด. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม พร้อมด้วย ดร.นิรมล พรมนิล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม นักวิจัยคณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ ร่วมรายงานปิดโครงการรอบ 12 เดือน ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 2565 โปรแกรม 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม ณ ห้องประชุม Mayfair Ballroom C ชั้น 11โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ

การปิดโครงการรอบ 12 เดือนในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านธานินทร์ ผะเอม ประธานกรรมการคณะกรรมการพิจารณาติดตาม และประเมินผลภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ“ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 2565 และมีการกล่าวแจงเป้าหมายการจัดกิจกรรมรายงานปิดโครงการรอบ 12 เดือน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ หัวหน้าชุดประสานฯชุมชนนวัตกรรม 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

และต่อมาได้มีการรายงานปิดโครงการรอบ 12 เดือน โครงการการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการเลี้ยงกบสู่สัตว์เศรษฐกิจเชิงพาณิชย์สร้างเศรษฐกิจและทุนชุมชนฐานรากจังหวัดพะเยา บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2565 คณะนักวิจัย ได้แก่ ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการย่อย 4 รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล หัวหน้าโครงการย่อย 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร สีตะพันธุ์ หัวหน้าโครงการย่อย 2 และดร.นิรมล พรมนิล หัวหน้าโครงการย่อย 3 และมี ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย ที่ปรึกษาโครงการวิจัยในครั้งนี้ โครงการวิจัยดังกล่างประกอบด้วยโครงการย่อยภายใต้แผนงาน 4 โครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบ การผลิตอาหารเสริมกบ การแปรรูปกบและการตลาดกบ เพื่อสร้างมาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตกบในจังหวัดพะเยา จากการดำเนินงานแผนงานวิจัย พบว่า การใช้เทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นช่วยคำนวณสารเคมีและฮอร์โมน เพื่อเพาะพันธุ์กบด้วยวิธีผสมเทียม ส่งผลให้เกษตรกรสามารถผลิตลูกกบได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากเดิมที่เพาะพันธุ์กบแบบธรรมชาติ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงหนอนทหารเสือลายสำหรับใช้เป็นอาหารเสริมในการเลี้ยงกบ สามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารลงร้อยละ 30 ซึ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 13 การใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอัตโนมัติผ่านระบบมือถือและเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าแอมโมเนียในบ่อเลี้ยงกบสามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ และอัตราการรอดชีวิต มากกว่าการเลี้ยงแบบแรงงานคนปกติ

และเพื่อพัฒนานวัตกรชุมชนและพื้นที่เรียนรู้การเรียนรู้การเลี้ยงกบเชิงพาณิชย์ บนฐานทุนชุมชน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างน้อย 100 คน ในพื้นที่ดำเนินงานชุมชนเป้าหมาย 14 ตำบล จังหวัดพะเยา จากการดำเนินการพัฒนานวัตกรชุมชน พบว่า เกษตรกรเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และเกิดช่องทางการตลาดใหม่ ส่งผลให้เกิดการพัฒนานวัตกรจำนวน 100 คน (ระดับ 3 จำนวน 85 คน และระดับ 4 จำนวน 15 คน) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) นวัตกรผู้เลี้ยง 2) นวัตกรจัดการน้ำ 3) นวัตกรการแปรรูป 4) นวัตกรการตลาด โดยมีการประเมินความเป็นนวัตกรชุมชนตามเกณฑ์การให้คะแนน (Rubic Score) ที่คณะวิจัยได้สร้างขึ้น อีกทั้งหลังการพัฒนานวัตกร เกษตรกรเกิดการขยายเครือข่ายและจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกบเชิงพาณิชย์ในจังหวัดพะเยาเพิ่มขึ้น

และผลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของแผนงานวิจัย พบว่า แผนงานวิจัยมีผลการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net present value: NPV) มีค่าเท่ากับ 3,411,996 บาท ผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal rate of return: IRR) มีค่าเท่ากับ 3.85% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ทำให้แผนงานโครงการวิจัยนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุน นอกจากนี้ หากพิจารณาอัตราส่วนผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของผลได้ตลอดอายุโครงการต่อผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนตลอดอายุแผนงานวิจัย เท่ากับ 1.21 เท่า นั้นแสดงว่าการลงทุนในโครงการนี้ 1 บาท ได้ผลตอบแทนถึง 1.21 บาท ทำให้แผนงานวิจัยดังกล่าวหากมีการดำเนินการต่อไปจะทำให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย เพิ่มขึ้น 1.21 เท่า



        

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม   
ข้อมูล/ข่าว :    ปกบวร พูลเกษร   
เพิ่มข่าวโดย :   pokbaworn.po@up.ac.th   
27/6/2566 17:00:54น. 7270
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน