คณะผู้วิจัยจากคณะนิติศาสตร์นำเสนอผลการศึกษาในโครงการวิจัยเรื่อง "การศึกษาสถานการณ์และประเมินผลสำเร็จของมาตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประเทศไทยในปัจจุบัน

28/7/2565 13:42:31น. 984
วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ คณะผู้วิจัยจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประกอบด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม งามเมืองสกุล (หัวหน้าโครงการวิจัย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษฎา ใจแก้วทิ และผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมวุฒิ สาระกิจ ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมนำเสนอผลการศึกษาในโครงการวิจัย เรื่อง "การศึกษาสถานการณ์และประเมินผลสำเร็จของมาตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประเทศไทยในปัจจุบัน" (ภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อหันเหผู้กระทำผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม)  ทั้งนี้ โครงการวิจัยดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์หรือแนวทางการใช้มาตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์การนำมาตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาทบทวนกฎหมาย ระเบียบ แนวทางปฏิบัติและมาตรการที่เกี่ยวข้องของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาล รวมถึงบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทว่าสามารถป้องกันการกระทำความผิดและลดการกระทำผิดซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด 3) เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี สถิติที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประเทศไทยในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาลก่อนมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เปรียบเทียบกับหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562  4) เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ กฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติ (Best Practice) ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาลของต่างประเทศ เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาลของประเทศไทย ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในการกำหนดข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายไทย และทำให้คนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมลดน้อยลง 5) เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพและได้ข้อเสนอแนะแนวทางในการนำแนวคิดมาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาล มาใช้ในการลดปริมาณคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย รูปแบบของระบบบริหารงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประเทศไทย และเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ คณะผู้วิจัยจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประกอบด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม งามเมืองสกุล (หัวหน้าโครงการวิจัย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษฎา ใจแก้วทิ และผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมวุฒิ สาระกิจ ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมนำเสนอผลการศึกษาในโครงการวิจัย เรื่อง "การศึกษาสถานการณ์และประเมินผลสำเร็จของมาตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประเทศไทยในปัจจุบัน" (ภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อหันเหผู้กระทำผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม) ทั้งนี้ โครงการวิจัยดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ คือ

1) เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์หรือแนวทางการใช้มาตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์การนำมาตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน

2) เพื่อศึกษาทบทวนกฎหมาย ระเบียบ แนวทางปฏิบัติและมาตรการที่เกี่ยวข้องของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาล รวมถึงบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทว่าสามารถป้องกันการกระทำความผิดและลดการกระทำผิดซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด

3) เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี สถิติที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประเทศไทยในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาลก่อนมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เปรียบเทียบกับหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

4) เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ กฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติ (Best Practice) ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาลของต่างประเทศ เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาลของประเทศไทย ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในการกำหนดข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายไทย และทำให้คนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมลดน้อยลง

5) เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพและได้ข้อเสนอแนะแนวทางในการนำแนวคิดมาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นก่อนการพิจารณาคดีของศาล มาใช้ในการลดปริมาณคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย รูปแบบของระบบบริหารงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประเทศไทย และเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท



    

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ผศ.อุดม งามเมืองสกุล   
ข้อมูล/ข่าว :    ผศ.อุดม งามเมืองสกุล   
เพิ่มข่าวโดย :   krittabhorn.ju@up.ac.th   
28/7/2565 13:42:31น. 984
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน