สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมจัดพิธี "สืบชะตาบวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี"และพิธีเปิด"กาดต้นเรื่อง พันดาว"
    

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมจัดพิธี "สืบชะตาบวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี"และพิธีเปิด"กาดต้นเรื่อง พันดาว"

          สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น ไร่เชิญตะวัน และเครือข่ายรักษ์นกยูงไทยและไพรพฤกษ์ จัดงาน "สืบชะตาบวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี "และพิธีเปิด"กาดต้นเรือง พันดาว"  20 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น. ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานพิธีสืบซะตา บวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี" และพิธีเปิด "กาดต้นเรือง พันดาว" ณ บริเวณลานรักษ์ต้นเรือง ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมี พระเดชพระคุณ พระเมธีวชิโรดม ( ว.วชิรเมธี ) พร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณร พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ รองประธานกรรมการโครงการสมาชิกสภาพบประชาชนในพื้นที่ และคณะ เข้าร่วมในพิธีด้วยรัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริมสนับสนุนผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ให้ใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรในชุมชน ได้ผลิตและพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ตลอดจนการสนับสนุนการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น ร่วมกับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ไร่เชิญตะวัน เครือข่ายรักษ์นกยูงไทยและไพรพฤกษ์ จึงได้กำหนดจัดงาน "สืบชะตา บวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี" และพิธีเปิด "กาดต้นเรือง พันดาว" ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ สืบชะตา และพิธีบวชต้นเรืองโบราณ อายุมากกว่า 500 ปี เพื่ออนุรักษ์ต้นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนตำบลบ้านตุ่น และเปิดกาดต้นเรือง พันดาว เพื่อแสดง จำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของตำบลบ้านตุ่นและจำหน่ายสินค้าการเกษตรของชุมชนตำบลบ้านตุ่น และตำบลใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรม การจัดงาน "สืบชะตา บวชต้นเรืองโบราณอายุกว่า 500 ปี" และพิธีเปิด "กาดพันดาว" ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนตำบลบ้านตุ่น เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และสินค้าทางการเกษตรของชุมชนตำบลบ้านตุ่น ที่จะนำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของตำบลบ้านตุ่น ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดงาน ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ไร่เชิญตะวัน เครือข่ายรักษ์นกยูงไทยและไพรพฤกษ์ และภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน เป็นอย่างดี
       

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :    นริศ ศรีสว่าง / ฐานนันท์นาฎ หาญเลิศ / ณัฐชา กิจจา ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์นกยูงไทย   
ข้อมูล/ข่าว :    ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้   
เพิ่มข่าวโดย :   thananannad.ha@up.ac.th   
21/01/2566 13:07 น. (897 วันที่แล้ว)

สถิติการอ่านข่าวนี้
วันนี้: 2 ครั้ง | เมื่อวาน: 2 ครั้ง | เดือนนี้: 11 ครั้ง | ปีนี้: 38 ครั้ง | รวม: 38 ครั้ง